โรคในเมล่อน

หมวดหมู่: บทความ

โรคในแตงเมล่อน

          แตงเมล่อน เป็นพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cucumis melo L. ซึ่งมีชื่อเรียกทั่วไปหลายชื่อ เช่น เมล่อน (melon) แคนตาลูป (cantaloupe) และมีมากมายหลายสายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งผิวเปลือกของผล สีของเนื้อแตง แต่ในบทความนี้ จะขอเรียกเรียกรวมกันทั้งหมดว่า “แตงเมล่อน” ซึ่งหมายถึงพืชกลุ่มเดียวกันในทางพฤกษศาสตร์ที่มีปัญหาเรื่องโรคเหมือนกันและเป็นประเด็นหลักที่จะนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ตลอดจนแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้เป็นหลักการในการแก้ปัญหา ต่อไป

          แตงเมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกแตงเมล่อน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกแตงเมล่อน จึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆอีกหลายชนิด ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่เกิดในแปลงปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะทำให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร

          โรคที่สำคัญและเป็นปัญหาทั่วไปในการปลูกแตงเมล่อน คือ โรคไวรัส โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนสและโรคใบจุด ซึ่งแต่ละโรค จะมี ลักษณะแผล การเกิดโรค แตกต่างกันไป ดังนี้

 

โรคไวรัส

          โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนากเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งอาจมีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ แต่ลักษณะอาการของโรคค่อนข้างจำเพาะเจาะจง สามารถแยกลักษณะของโรคได้จากอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อโรคอื่นๆ ลักษณะอาการโรคไวสัสที่พบทั่วไปในแปลงปลูกเมล่อน มีดังนี้

 

 

 

 

          เนื่องจากเชื้อไวรัส ไม่สารถแพร่กระจายไปได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยพาหะนำพาไป คือ เชื้อไวรัสจะอาศัยอยู่ชั่วคราวในแมลงประเภทปากดูด (เช่น เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ) เมื่อแมลงเหล่านี้ไปดูดกินน้ำเลี้ยงบนต้นพืชที่มีเชื้อไวรัส เชื้อก็จะเข้าไปอยู่ในตัวแมลง และแมลงเหล่านี้ เคลื่อนย้ายไปดูดกินต้นพืชอื่นๆ ก็จะแพร่เชื้อออกไปเรื่อยๆ  ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีสารกำจัดเชื้อไวรัสได้โดยตรง ดังนั้น การควบคุมโรคไวรัส ไม่ให้แพร่กระจายออกไป จึงต้องรีบกำจัดแมลงพาหะ จะช่วยลดการเป็นโรคไวรัส ลงได้ (การกำจัดแมลง จะขอกล่าวแยกต่างหากในบทความว่าด้วยเรื่องแมลงศัตรูพืชในเมล่อน ต่อไป)

 

โรคราน้ำค้าง  

          โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อโรคอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกชื่อในทางวิชาการว่า oomycete pathogens ซึ่งปัจจุบันได้ แยกออกจากกลุ่มเชื้อรา (fugal pathogens) เพราะมีลักษณะและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เชื้อโรคกลุ่มนี้ ชอบอาศัยอยู่ในที่มีความชื้นสูง สปอร์สามารถว่ายน้ำได้ อาการของโรค จะเริ่มจากจุเหลือง เล็กๆ บนใบพืช แล้วลุกลามเป็นแผลขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้เห็นอาการใบไหม้ได้ เมื่อเชื้อโรคเจริญครบวงจรชีวิต ก็จะสร้างสปอร์ ซึ่งเป็นส่วนสำหรับขยายแพร่พันธุ์  สปอร์ จึงแพร่กระจายไปกับลม ฝนและน้ำ

 

 

 

      

 

          การควบคุมโรคราน้ำค้าง ต้องใช้สารเคมีที่ฤทธิ์จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคกลุ่มนี้ สารกำจัดเชื้อราทั่วไป ไม่สามารถกำจัดได้ และปัญหาที่สำคัญคือเชื้อโรคกลุ่มนี้ มีรายงานการ “ดื้อยา” มากกับสารเคมีหลายชนิด

 

          ดังนั้น การเลือกสารเคมีมาเพื่อใช้ควบคุมโรคราน้ำค้าง จึงต้องระมัดระวัง ไม่ใช้สารเคมีที่ดื้อยา มาเป็นสารหลักในโปรแกรมการฉีดพ่น เกษตรกร ควรต้องเริ่มโปรแกรมการฉีดพ่นด้วยสารที่มีประสิทธิภาพก่อน เมื่อสามารถลดการเกิดโรคลงได้แล้ว อาจมีการสลับกับสารเหล่านี้ได้บ้าง เพื่อการบริหารจัดการเรื่อง การดื้อยา

 

โรคแอนแทรคโนส

          โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่ชอบอากาศ ร้อน-ชื้น โรคแอนแทรคโนส จึงมักพบระบาดในช่วงฤดูฝน ลักษณะโรคบนใบ แผลมีอาการเป็นปื้นสีน้ำตาล เมื่อโรคลุกลาม จะทำให้เนื้อเยื่อใบแห้งตาย จึงมักเห็นบริเวณแผล เนื้อใบหลุดร่วงเป็นรู แผลมีรูปร่างไม่แน่นอนชัดเจน

 

 

 

          มีรายงานการวิจัยว่า เชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum spp.) ดื้อยา ต่อสารคาร์เบนดาซิม ดังนั้น การใช้สารชนิดนี้ กับโรคแอนแทรคโนส อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

  

 

โรคราแป้ง

          โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่ง ชื่อของโรค เรียกตามอาการของโรค คือ บริเวณแผลที่เป็นโรค จะมีผงฝุ่นสีขาว ดูเหมือนแป้ง โรคนี้ มักจะเกิดในสภาพที่อากศแห้ง มีความชื้นต่ำกว่าการเกิดโรคราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนส โรคราแป้งจึงมักพบว่า ระบาดในช่วงปลายปีที่มีฝนน้อยและอากาศค่อนข้างเย็น โรคราแป้ง มักเกิดบนใบแก่ ดังนั้น โรคราแป้ง อาจไม่มีผลกระทบต่อต้นแตงมากนัก แต่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลแตง

 

 

 

โรคใบจุด

          โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่ง ในภาษาอังกฤษ มักเรียกว่า Alternatia leaf blight เพราะเชื้อสาเหตุโรค คือเชื้อ ออลเทอร์นาเรีย (Alternaria spp.) แผลของโรค มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปร่างค่อนข้างกลม แผลอาจมองเห็นเป็นวงซ้อนๆ กัน เนื้อเยื่อใบกลางแผลจะแห้งตาย ทำให้เนื้อเยื่อหลุดออกเป็นรูกลวง การระบาดของโรคอาจรุนแรงน้อยกว่าโรคราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนส

 

 

          จากโรคในแตงเมล่อน ทั้งหมด (ยกเว้นโรคไวรัส) เมื่อนำมาเปรียบเทียบการเจริญของเชื้อโรค ก็จะพบว่า มีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน ดังนี้

 

การทดสอบโปรแกรมการป้องกันกำจัดโรค       

          ศูนย์วนิดาเกษตร ได้ทำการทดสอบโปรแกรมการควบคุมโรคในแปลงปลูก จำนวน 2 แปลง ในสถานที่และระยะเวลาที่ต่างกัน เพื่อจะนำข้อมูลมาใช้สำหรับแนะนำให้เกษตรกรใช้เป็นหลักการควบคุมโรคในแตงเมล่อน

 

 

          จากข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรคและสารเคมี ดังกล่าวข้างต้น นำมาสู่หลักการ ในการกำหนดชนิดสารเคมีและกำหนดโปรแกรมการฉีดพ่น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น เน้นการใช้สารเคมีตามสถานการณ์ของการเกิดโรค ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาลและสถานที่ ดังจะเห็นได้จากแปลงทดสอบ 2 แปลง

 

 

          ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในแปลงทดสอบที่ 1 จะน้อยกว่าในแปลงทดสอบที่ 2 เพราะชนิดของโรคที่เกิดในแปลงทดสอบทั้ง 2 แปลงไมเหมือนกัน สารเคมีที่ใช้มีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อการควบคุมโรคแต่ละชนิด

 

 

ผลการทดสอบ         

           จากการทดสอบโปรแกรมการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคในแปลงแตงเมล่อน พบว่า ได้ผลดีตามเป้าหมาย ทั้ง 2 แปลง และดีกว่าแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามปกติซึ่งใช้ชนิดสารเคมีและจำนวนครั้งที่ฉีดพ่นมากกว่าแปลงทดสอบ อย่างชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดเห็นท้ายเรื่อง

ผลจากการทดสอบโปรแกรมการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคในแตงเมล่อน ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ถ้าเกษตรกร สารารถจำแนกชนิดได้ชัดเจน แล้วคัดเลือกสารเคมีที่มีประสืทธิภาพในการควบคุมแต่ละชนิดได้ถูกต้อง และใช้เต็มอัตราที่แนะนำของสารแต่ละชนิด ใช้ในเวลาที่เหมาะสม ก็จะสามารถ ลดการใช้สารเคมีลงได้ แต่ยังได้ผลผลิตดี เท่ากับเป็นการลดต้น เพิ่มผลผลิต นั่นเอง

 

เรียบเรียงโดย  สุจินต์ จันทรสอาด ที่ปรึกษาศูนย์แนะนำแก้ปัญหาการปลูกพืช VANIDA KASET (www.vanidakaset.com)

 

เอกสารที่ใช้อ้างอิงข้อมูล

  • The cucurbit downy mildew pathogen Pseudoperonospora cubensis. E. Savory, et al., MOLECULAR PLANT PATHOLOGY,
  • Foliar Diseases of Cucurbits. K. Seebold, Plant pathology fact sheet, Kentucky Cooperative Extension Service, 2010.
  • Cucubit Desease,Field guide, Seminis Publication.
  • Anthracnose of Cucumber,Muskmelon, and D. Egel, Purdue University Extension Publication.
  • การศึกษาลักษณะทางชีววิทยาโมเลกุลของยีนและโปรตีน Nucleocapsid และ Non-strucural ของ Melon Yellow Spot Virus ที่เข้าทำลายเมล่อนในประเทศไทย ณัชชานันท์ วิบูลย์โชติกร วิทยานิพนธ์ ป. โท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2555

***************************

18 กันยายน 2561

ผู้ชม 13794 ครั้ง

Engine by shopup.com