โรคตายพรายในกล้วย [Credit: vanidakaset.com]

หมวดหมู่: บทความ

โรคตายพรายในกล้วย

By Vanidakaset.com

 

                  โรคตายพราย เป็นโรคที่ทำความเสียอย่างรุนแรงกับต้นกล้วย พบว่าระบาดครั้งแรกในประเทศปานามา ในปี 1890 หรือประมาณ 120 ปีมาแล้ว โรคนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า Panama disease และหลังจากนั้น โรคนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วเขต อเมริกากลางและแถบทะเลคาริบเบียน แทบจะเรียกว่า เกือบทำลายล้างแหล่งอุตสาหกรรมการปลูกกล้วยหอมทอง [ the ‘Gros Michel’ (AAA)] ที่สำคัญของโลกในช่วง ทศวรรษ ที่ 1950s และ 1960s ด้วยเหตุที่กล้วยสายพันธุ์กล้วยหอมทองอ่อนแอต่อเชื้อราฟิวซาเรี่ยม เกษตรกรในเขตอเมริกากลางจึงต้องเปลี่ยนไปปลูกกล้วยสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า กล้วยคาเวนดิช (The Cavendish cultivars)

สาเหตุของการเกิดโรค

                  โรคตายพราย เกิดจากเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Fusarium oxysporum f. sp. cubense (Foc) หรืออาจจะเรียกโดยทั่วไปว่า เชื้อราฟิวซาเรี่ยม เพราะเหตุว่าเป็นเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปในดินตามธรรมชาติ เมื่อพบว่าพื้นที่ใดมีเชื้อราฟิวซาเรี่ยมชนิดนี้ ก็จะไม่สามารถกำจัดเชื้อฟิวซาเรี่ยมให้หมดไปได้ เมื่อปลูกกล้วยก็จะเกิดโรคตายพรายและจะเกิดเป็นประจำ เชื้อราฟิวซาเรี่ยมที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคนี้มีหลายสายพันธุ์และมีความรุนแรงของการเกิดโรคต่างกัน โรคตายพรายพบระบาดทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกแยงใต้ รวมทั้งในประเทศไทย

การแพร่กระจายของโรค

                  เชื้อราฟิวซาเรี่ยมที่มีอยู่ในดินจะเข้าทำลายต้นกล้วยทางราก แล้วแพร่กระจายเข้าลำต้น อาการที่เกิดกับกล้วยต้นเล็ก อาการจะเกิดที่ใบล่างก่อน เชื้อราฟิวซาเรี่ยมจะลุกลามไปทั่วต้น โดยเคลื่อนย้ายไปทางระบบท่อน้ำ (xylem) ของลำต้น ขึ้นสู่ยอดของต้นกล้วย ก่อให้เกิดอาการใบเหลืองที่ใบยอด (yellow leaf syndrome) อาการเหลืองเริ่มต้นอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นอาการพืชขาดสารโพแตสเซี่ยม (Potassium: K) แต่อาการเหลืองจากโรคตายพราย จะเริ่มจากอาการสีเหลิองเป็นจุดๆ แล้วขยายเป็นแถบ แล้วแผ่เหลืองทั้งไป ส่วนของพืชที่ตายไป เชื้อราก็จะสร้างสปอร์ที่พักตัวไม่งอก( resting spores) แล้วกระจายกลับลงสู่ดินอีก ซากเศษพืชที่ตายแล้ว จึงเป็นแหล่งพักของเชื้อรา ดังนั้น เชื้อราฟิวซาเรี่ยม จึงดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนพืชที่มีชีวิตและบนซากพืชที่ตายแล้ว นับว่า เชื้อราฟิวซาเรี่ยม มีวงจรชีวิตที่ซับซ้อนมากกว่าเชื้อราอื่นๆ อีกหลายชนิด นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่า โรคตายพราย เป็นโรคที่เกิดเรื้อรังและควบคุมหรือป้องกันกำจัดได้ยาก

ลักษณะอาการของโรค

               โรคตายพราย แผลของโรคอาจมีได้หลายลักษณะ เกษตรกรต้องมีความละเอียดในการวินิจฉัย เพราะอาจทำให้เกิดความสับสนกับโรคอื่นๆบนต้นกล้วยได้ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดวิธีการป้องกันกำจัดที่ไม่ถูกต้องก็จะไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง เพราะโรคที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม ไม่สามารถหาสารเคมีที่มีประสิทธิภาพกับเชื้อราฟิวซาเรี่ยมได้ในท้องตลาด

  

                    โรคตายพรายกับกล้วยปลูกใหม่ เกิดที่ใบล่าง                          อาการโรคตายพรายที่ใบ ก้านใบจะเหลืองและเนื้อช้ำ

                                       

                        ใบล่าง เป็นโรคตายพราย เนื้อเยื่อในกาบใบช้ำ สีน้ำตาล ส่วนใบบน เป็นโรคซิกาโตก้า(โรคใบกรอบ)

 

การจัดการควบคุมการเกิดโรค

                  การกำจัดโรคตายพราย เป็นเรื่องยากที่สุด เพราะเชื้อราฟิวซาเรี่ยมสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานหลายปี และที่สำคัญไม่มีสารเคมีกำจัดเชื้อราฟิวซาเรี่ยมที่ได้ผล การบริหารจัดการด้านการปลูก พอช่วยได้บ้าง คือ ระวังอย่าใช้หน่อปลูกจากต้นแม่ที่เคยมีอาการโรคตายพราย แม้ว่าหน่อที่แตกออกมาใหม่นั้นจะดูสมบรูณ์ ก็ตาม เพราะเชื้อราฟิวซาเรี่ยมสามารถเข้าไปอยู่ในต้นพืชได้โดยมีช่วงที่ไม่แสดงอาการโรค ควรหาหน่อปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจ จากพื้นที่ที่ไม่มีการเป็นโรคตายพราย

                  หลังจากที่ปลูกหน่อกล้วยแล้ว ต้องหมั่นสำรวจดูหน่อกล้วยว่าเริ่มพบอาการดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ ถ้าเป็นพื้นที่ทีเคยพบเกิดโรคตายพรายมาก่อนหน้าแล้ว ก็มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดโรคซ้ำอีก การใช้สารชีวภัณฑ์ (Biofungicide) กำลังเป็นที่สนใจมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับการใช้ป้องกำจัดโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อฟิวซาเรี่ยม

 

สารชีวภัณฑ์ บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis based-fungicide)

                  บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปในทุกที่ มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆที่เป็นศัตรูพืชได้ ดังนั้น ในทางวิชาการจึงได้มีนำเอาแบคทีเรียชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ในการป้องกำจัดโรคพืชทางการเกษตร จนปัจจุบัน  ได้มีงานวิจัยและพัฒนาที่ก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ของบาซิลลัส ซับทิลิส ที่มีความสามรถพิเศษเฉพาะในการกำจัดโรคหลายชนิด จนสามารถนำไปจดสิทธิบัตร และผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้ในเชิงอุตสาหกรรม เหมือนกับสารเคมีสังเคราะห์

ไบออนแบค

                  ไบออนแบค  เป็นสารชีวภัณฑ์ บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis strain Y1336) จากไต้หวัน ที่ได้จดสิทธิบัตรสายพันธุ์ Y1336 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นสารกำจัดโรคพืช (biofungicide) ในหลายประเทศ รวมทั้ง ญี่ปุ่นและเกาหลี จึงเป็นการรับประกันมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์

 

                    จากการทดสอบในแปลงกล้วยหอมทอง ทีอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ในปี 2559 พบว่า ไบออนแบค มีประสิทธิภาพในการช่วยลดปัญหาโรคตายพรายและโรคขั้วหวีเน่าให้เกษตรกรได้เป็นอย่างมาก

 

 

เรียบเรียงโดย  สุจินต์ จันทรสอาด ที่ปรึกษาศูนย์แนะนำแก้ปัญหาการปลูกพืช VANIDA KASET (www.vanidakaset.com)

 

เอกสารที่ใช้อ้างอิงข้อมูล

  • Fusarium Wilt of Bananas (Panama Disease) (Fusarium oxysporum sp. Cubense), A. Daly, Diagnostic Services and G. Walduck, Crops, Forestry and Horticulture, Darwin no. 151, November 2006.
  • Fusarium wilt of banana, Fusarium oxysporum f.sp. cubense , Africa soil health consortium plantwise, Grahame Jackson, August 2014
  • Technical Manual Prevention and diagnostic of Fusarium Wilt (Panama disease) of banana caused by

           Fusarium oxysporum f. sp. cubense Tropical Race 4 (TR4), FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION   

             OF THE UNITED NATIONS May 2014

  • Bio Tech Inc., Bacillus subtilis Y1336, Taiwan, 2016

 

***************************

18 กันยายน 2561

ผู้ชม 34362 ครั้ง

Engine by shopup.com