โรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ ควบคุมด้วยวิธีไหนให้ดีที่สุด ?
โรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ ควบคุมด้วยวิธีไหนให้ดีที่สุด ?
โรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ ควบคุมด้วยวิธีไหนให้ดีที่สุด ?
จากคอลัมน์เกษตรในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง “รับมือ 2 โรคสตรอเบอร์รี่” ว่าลมหนาวโชยมา กรมวิชาการเกษตรเตือนเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่ เฝ้าระวังการระบาดของโรคราแป้งและโรคแอนแทรคโนส ซึ่งผู้เขียนคอลัมน์ ได้บรรยายลักษณะอาการของโรคและคำแนะนำสารเคมีสำหรับป้องกันกำจัดโรคโดยย่อ เป็นแรงจูงใจให้ทางศูนย์แนะนำการแก้ปัญหาการปลูกพืช (vanida.com) เกิดความคิดที่จะพูดถึงเรื่องโรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ เพราะเห็นว่าปัญหาโรคนี้ เป็นปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่ จึงอยากนำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคแอนแทรคโนส มานำเสนอในบทความนี้ และนำข้อมูลผลการทดสอบสาธิตโปรแกรมการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ ซึ่งได้ดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการของ บริษัท ลัดดากรุ๊ป ในช่วงระหว่าง ปี 2559-2560 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรทั่วไป
โรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่
โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราในตระกูล Colletotrichum spp. เชื้อรากลุ่มนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอย่างเดียวกัน หรืออาการคล้ายคลึงกันบนพืชหลายๆชนิด ต่างพืชก็อาจจะมีเชื้อราที่ต่างชนิดย่อยลงไปอีก ซึ่งจะจำแนกชนิดได้โดยนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องเชื้อราเท่านั้น แต่ชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อรากลุ่มนี้ ก็จะเรียกว่า โรคแอนแทรคโนส(anthracnose disease) เพราะฉะนั้น สำหรับเกษตรกร ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักชื่อของชนิดเชื้อรา แต่จำเป็นต้องรู้จักว่าโรคเกิดที่ส่วนไหนของต้นพืชและมีลักษณะอาการของโรคเป็นอย่างไร วงจรการเกิดโรคเป็นอย่างไร เชื้อโรคแพร่ระบาดได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะนำไปสู่วิธีการควบคุมหรือป้องกันกำจัดการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ความจริงแล้ว โรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ เกิดกับทุกส่วนของต้นสตรอเบอร์รี่ คือ ราก ต้น ใบ และ ผลสตรอเบอร์รี่ ดังนั้น โรคแอนแทรคโนส จึงเป็นโรคที่เป็นปัญหามาที่สุดในการปลูกสตรอเบอร์รี่ เราจึงควรรู้จักกับอาการของโรคบนส่วนต่างๆของต้นพืช ดังต่อไปนี้
อาการที่ราก ต้นกล้า (ไหล) ปลูกใหม่อาจยืนต้นตายภายใน 2 สัปดาห์ เมื่อถอนต้นขึ้นมาดูรากจะพบว่า ระบบรากไม่เจริญเติบโต ไม่มีรากฝอยเกิดใหม่ หรือบริเวณปลายรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอาการของโรคแอนแทรคโนสที่ราก หรือเรียกว่า โรครากเน่า (root rot) ซึ่งในทางวิชาการ ยังไม่ทราบลายละเอียดว่าเชื้อโรคแอนแทรคโนสดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรในดิน เพราะเชื้อราสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ไมใช่เชื้อราที่อาศัยอยู่ในดิน แต่นักวิชาการก็สันนิษฐานว่า สปอร์ของเชื้อราเชื่อรา สามารถอาศัยอยู่บนเศษซากพืชที่ถูกทิ้งหรือฝังอยู่ในดิน
อาการที่ต้นไหล การปลูกสตรอเบอรณรี่ในภาดเหนือของประเทศไทย ส่วนมากจะใช้ต้นกล้าจากไหล (stolon) จากต้นแม่พันธุ์ไปปลูก ปัญหาที่สำคัญ คือ ไหลมักมีเชื้อโรคแอนแทรคโนสติดไปในแปลงปลูก อาการของโรคจะเป็นแถบสีน้ำตาลแดง และอาจมีอาการคอดของลำต้นไหล ส่งผลให้ใบแห้งกรอบ
อาการที่ใบ โรคแอนแทรคโนสที่เกิดบนใบ อาจมีลักษณะ เป็นจุดสีน้ำตาลดำ หรือ อาการไหม้ที่ปลายใบหรือขอบใบ มีขอบเขตแผลไม่แน่นอน เชื้อราบนแผลที่ใบจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่ส่วนอื่นๆของต้น
อาการที่ดอกและผล โรคแอนแทรคโนสเข้าทำลายทั้งในระยะดอกและทุกระยะการเจริญของผลสตรอเบอร์รี่ การเกิดโรคบนผลอ่อน แผลจะมีสีดำ เนื้อเยื่อแห้งและยุบตรงกลางแผล แผลบนผลสุกอาการจะรุนแรง แผลมีอาการฉ่ำน้ำ เนื้อผลจะยุบลง ทำให้ผลเสียหาย ไม่สามารถขายผลสดของสตรอเบอร์รี่ได้
เพราะนั้น จะเห็นได้ว่า โรคแอนแทรคโนส สามารถเกิดได้ทุกส่วนของต้นสตรอเบอร์รี่ เริ่มตั้งแต่ในแปลงไหลไปจนถึงผลสตรอเบอร์รี่ระยะเก็บเกี่ยว ซึ่งวงจรชีวิตของเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส นั้น นักวิชาการอธิบายว่า เกิดจากแหล่งอาศัยของเชื้อราในรูปของสปอร์บนเศษซากพืชบนดิน และสปอร์ของเชื้อรานี้ จะแพร่กระจายไปโดยฝนหรือการให้น้ำ เชื้อราก็จะแพร่กระจายลงในแปลงไหล และจะแพร่กระจายต่อไปในแปลงปลูก ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม คืออากาศค่อนข้างร้อนและชื้น สปอร์จะงอกเป็นเส้นใยและเจริญเติบโตไปจนครบวงจรที่จะสร้างสปอร์ใหม่อีกรอบ ทำให้เชื่อราสามารถแพร่กระจายไปทั่วแปลงปลูก ดังนั้น การวางแผนที่ดีในป้องกันกำจัดหรือการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการผลิตสตรอเบอร์รี่
ปัญหาในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส
เนื่องจากเชื้อราของโรคแอนแทรคโนสมีอยู่หลายชนิดย่อย มีความซับซ้อนในวงจรชีวิตและสามารถเข้าทำลายทุกส่วนของต้นพืช ดังกล่าวมาข้างต้น ตั้งแต่ในแปลงต้นกล้าไหล ไปจนถึงระยะติดผลและเชื้อโรคชนิดที่เข้าทำลายที่ผลยังมีวิถีชีวิต (ไลฟ์สไตล์)พิเศษเฉพาะ คือ ขณะที่ผลยังไม่สุกมีสีเขียว เชื้ออาจจะพักตัว ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น ต่อเมื่อผลใกล้สุกหรือใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ก็จะแสดงอาการผลเน่าให้เห็น ดังนั้น การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่จึงยากที่สุด ต้องเริ่มป้องกันโรคตั้งแต่ระยะเตรียมไหลสำหรับเป็นกล้าปลูก เพราะเชื้อโรคบนต้นกล้า จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อให้แพร่กระจายไปตลอดแปลงหลังปลูกไหล และลามไปจนถึงผลสตรอเบอร์รี่ เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวผล การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส ก็ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้างบนผลสตรอเบอร์รี่
ฝ่ายวิชาการของบริษัท ลัดดา กรุ๊ป ได้ทำการทดสอบโปรแกรมการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในสตรอเบอร์รี่ ระหว่างปลายปี 2559 ต่อต้นปี 2560 ที่ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่ โดยเปรียบเทียบการใช้สารเคมี โพรคลอราซ (ชื่อการค้า โคราซ) โปรแกรมการฉีดพ่นของเกษตรกร และ การใช้สารชีวภัณท์กำจัดศัตรูพืช คือ จุลินทรีย์ บาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillus subtilis strain Y1336) ผลการทดสอบ พบว่า การใช้สารชีวภัณฑ์ ไบออนแบค ให้ผลดีที่สุด
ข้อคิดเห็นท้ายเรื่อง
จากการทดสอบสาธิตการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสตรอเบอร์รี่ ครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า หากเกษตรกรมีความจำเป็นต้องฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคในระยะสตรอเบอร์รี่ติดผล เช่น โรคแอนแทรคโนส การเลือกใช้สารชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพดี ก็สามารถควบคุมโรคบนผลสตรอเบอร์รี่ได้โดยไม่ต้องกังวลกับสารเคมีตกค้างบนผลผลิต ดังข้อมูลที่ได้เสนอมาข้างต้น
เรียบเรียงโดย สุจินต์ จันทรสอาด ที่ปรึกษาศูนย์แนะนำแก้ปัญหาการปลูกพืช VANIDA KASET (www.vanidakaset.com)
เอกสารที่ใช้อ้างอิงข้อมูล
- Anthracnose of strawberry, California strawberry commission, production guideline Issue No. 14, 2017 (www.CalStrawberry.com)
- The Anthracnose Dilemma, K. Ivors, Horticulture & Crop Science Cal Poly Strawberry Center 2016
- Guide for identification of important diseases in strawberry in California, W. Gubler et al., the University of California Davis.
- Root Necrosis of Strawberry caused by Colletotrichum acutatum, J. Mertely, et al., the Plant Pathology Department, UF/IFAS Extension 2017, http://edis.ifas.ufl.edu.
- Anthracnose on Strawberry (Colletotrichum) K. Everett, Auckland
***************************
27 พฤศจิกายน 2561
ผู้ชม 10846 ครั้ง