โรคในพริกป้องกันได้อย่างไร
โรคในพริกป้องกันได้อย่างไร
โรคในพริกป้องกันได้อย่างไร
พริก เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili ถือเป็นพืชผัก/พืชสมุนไพรที่มีความสำคัญที่ใช้ทั้งบริโภค และการแปรรูปต่างๆ พริกถือว่าเป็นพืชส่งออกอีกชนิดที่น่าสนใจ จากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2561 พบการส่งออกพริกแห้งมีมูลค่า 535,191,367.00 บาท แต่ปัญหาการผลิตพริกให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย ยังไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหลักเกิดจากโรคพืชและแมลงหลายชนิด
ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคที่สำคัญใน พริก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคพืช
- โรคที่เกิดที่จากเชื้อแบคทีเรีย
โรคเหี่ยวเขียว(Bacterial wilt) สาเหตุเกิดเชื้อ Ralstonia solanacearum
ลักษณะเชื้อ Ralstonia solanacearum บนอาหารเฉพาะ
ลักษณะอาการ : เริ่มแรกใบจะเหี่ยวห้อย โดยใบจะยังเขียว และยืนต้นตาย เมื่อนำมาตัดดูบริเวณโคนต้น จะพบว่าท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาลและเมื่อตัดตามขวางของลำต้นแช่น้ำจะพบสีขาวขุ่นไหลมาจากรอยตัด
การเกิดโรคและการระบาด : เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถอยู่ในดินได้นานหลายปี สามารถเข้าทำหลายพืชได้หลายชนิดโดยเฉพาะในวงศ์ Solanaceae เช่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง และมะเขือ เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต และสามารถแพร่ระบาดไปกับเครื่องมือการเกษตร ลม น้ำ และคน โรคระบาดในช่วงอากาศร้อนความชื้นในดินสูงจะทำให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพดินที่เป็นด่าง ขาดไนโตรเจน หรือมีความสมบูรณ์ของดินต่ำจะทำให้พืชเป็นโรคได้ง่ายและรุนแรง
ลักษณะอาการของโรคเหี่ยวเขียวในพืชวงศ์ Solanaceae
มะเขือเทศ มะเขือเปาะ มันฝรั่ง
ป้องกันกำจัด :
การป้องโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรป้องกันตั้งแต่เริ่มปลูก
- พื้นที่เคยพบว่ามีการระบาดของโรคเหี่ยว ควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือจะไถดินตากแดดสัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อในดิน
- ในแปลงที่เคยทราบว่ามีการระบาดของโรค ควรรมดินด้วยยูเรีย+ปูนขาว อัตรา 80+800 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูก
- ถ้าปลูกพืชไปแล้วมีโรคระบาดต้องถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงและเผาทำลาย และไม่ควรให้น้ำแบบไหล
ตามรองเพราะเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวนี้สามารถแพร่ไปกับน้ำได้
5.ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม แบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis) ที่ผ่านการทดสอบในแหล่งที่เชื่อถือได้ ที่มีการทดสอบว่าสามารถควบคุมโรคเหี่ยวเขียวได้ ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า และใช้ต่อเนื่องจนถึงระยะเก็บเกี่ยว (ผลจากการทดสอบพบการจัดการระบบเขตกรรมร่วมกับการใช้เชื้อจุลินทรีย์สามารถลดการโรคเหี่ยวเขียวได้ถึง 40-60% เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใช้)
12 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ชม 3144 ครั้ง