ประวัติและที่มาของดอกปทุมมา

หมวดหมู่: บทความ

ประวัติและที่มาของดอกปทุมมา

ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร คือบุคคลท่านแรกที่ทำการรวบรวมพันธุ์ดอกปทุมมา มาปลูก ขยายพันธุ์และเผยแพร่ พบครั้งแรกที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระวินัยโกศล เป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า “ปทุมมา” เพราะลักษณะดอกคล้ายดอกบัวและได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “ปทุมมาท่าน้อง” หมายความว่า คอยท่าให้น้องมาดู ดร.พิศิษฐ์ ได้ซื้อมาปลูกรวบรวมพันธุ์ เพื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ที่ห้วยทุ่งจ๊อ พบว่า พันธุ์สีชมพู คือพันธุ์เดียวที่รวบรวมอยู่ในขณะนั้นและยังไม่พบความหลากหลายของสีอื่น

เมื่อปี พ.ศ.2542-2543 ได้พบทุ่งดอกปทุมมา เป็นครั้งแรกที่จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีกลีบดอกใหญ่ สีเข้ม ทรงดอกสวยงาม หากพบในธรรมชาติจะมีกลีบดอกเรียว ฟอร์มดอกไม่ดี 
ต่อมาในปี พ.ศ.2522 ได้นำไปขยายพันธุ์ต่อที่ ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และเริ่มนำไปเผยแพร่สู่ตลาด เช่น การตัดดอกส่งจำหน่าย และส่งไปลองตลาดที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลตอบรับยังไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะพบว่าปลายกลีบดอกเกิดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายดอกโรย ดอกเหี่ยว หมดสภาพการใช้งาน 
ดร.พิศิษฐ์ จึงคัดเลือกต้นที่มีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ มีลักษณะช่อดอกและใบสั้นป้อม ใช้สำหรับปลูกเป็นไม้กระถางหรือไม้แปลง 
ปี พ.ศ.2530 มีการพบพันธุ์ที่สามารถใช้เป็นไม้กระถางและไม้แปลงได้ มีลักษณะดอกแบบเดิมแต่ก้านสั้น ซึ่งยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้ปลูก 
ต่อมาได้มีการนำไปเผยแพร่และปลูกที่หมู่บ้าน โดยผู้เข้าร่วมการอบรมกับศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล บ้านไร่ นำไปปลูก

ดอกปทุมมาจัดเป็นพืชที่มีความหลากหลายน้อย และยังมีการทำลายป่าในเขตที่เป็นต้นกำเนิดของปทุมมา เช่น ในป่าแถบ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ดร.พิศิษฐ์ จึงมีแนวคิดว่า ควรรักษาไว้ในลักษณะการเลียนแบบป่า โดยท่านให้ชื่อว่า “ป่าพันธุกรรม” ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ของการปลูกรักษา ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม พืชที่ปลูกไว้ในที่นั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ ค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อย เพียงรักษาพื้นที่ป่าพันธุกรรมไว้ให้ดี อย่าให้เกิดการไถหรือเผาทำล

 

 

18 กันยายน 2561

ผู้ชม 8635 ครั้ง

Engine by shopup.com