โรคไฟทอปธอราในทุเรียน [Credit: Vanidakaset.com]

หมวดหมู่: บทความ

โรคไฟทอปธอราในทุเรียน

          โรคที่สำคัญและเป็นปัญหามากที่สุดกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคไต้ของประเทศไทย คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เรียกว่า ไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) การเรียกชื่อโรค นั้น นักวิชาการและเกษตรกร มักเรียกตามอาการที่มองเห็น เช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า แต่ในความเป็นจริง เชื้อไฟทอปธอรา สามารถก่อให้เกิดอาการโรคได้ทุกส่วนของต้นพืช ตั้งแต่รากที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นและใบ ไปจนถึงบนผลทุเรียน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เชื้อแพร่กระจายเข้าทำลายในต้นพืช  ดังนั้น เพื่อไม่เกิดความสับสนในสาเหตุของการเกิดโรคและครอบคลุมอาการต่างๆบนต้นพืช นักวิชาการบางส่วน จึงเลือกที่จะเรียกว่า โรคไฟทอปธอรา (Phytophthora diseases) และในบทความทางวิชาการนี้ ก็จะขอเรียกชื่อโรคว่า โรคไฟทอปธอราในทุเรียน แทนชื่อโรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน ที่ใช้เรียกกันทั่วไปในประเทศไทย ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ต้องการสื่อสารข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับ ชีวิตของเชื้อโรค อาการต่างๆบนต้นพืชและแนวทางในการป้องกันกำจัดโรค แด่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั่วไป

 

อาการของโรคไฟทอปธอราในทุเรียน

          เชื้อไฟทอปธอรา โดยทั่วไปจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นระดับดิน เชื้อจะเข้าสู่ระบบท่อน้ำของลำต้น เมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่วต้น (systemic infections) อาการของโรค ก็จะเห็นแผลเน่าบนเปลือกของลำต้น ที่เราเรียกกันว่า “โคนเน่า” แต่อาการที่พบโดยทั่วในสวนทุเรียน เรามักเห็นอาการแผลอยู่บนลำต้น มากกว่าที่โคนต้น แผลของโรค มีลักษณะเป็นแผลตกสะเก็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมม่วง ซึ่งนักวิชาการเรียกว่า stem canker (ไม่มีคำแปลในภาษาไทย อาจจะเรียกว่า โรคแคงเคอร์บนลำต้น)  ตามด้วยอาการ ใบเหลือง เมื่อโรคแพร่กระจายไปสู่ยอด ก็จะเกิดอาการใบยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่ง ในช่วงทุเรียนติดผล โรคก็อาจลุกลามไปที่ผล ทำให้เปลือกของผลทุเรียนมีอาการเน่า (fruit rot) ทุเรียนที่ถูกเชื้อไปทอปธอราเข้าทำลาย จะทรุดโทรมไปเรื่อยๆ ผลผลิตลดลง หรือผลทุเรียนไม่สมบรูณ์และยืนต้นตาย ในที่สุด โรคไฟทอปธอรา จึงเป็นโรคเรื้อรังในต้นทุเรียน เมื่อต้นทุเรียนทรุดโทรมจากโรคมากขึ้น เกษตรกรก็จะโค่นต้นเก่าทิ้ง แล้วปลูกทดแทนใหม่บนพื้นที่เดิม ต้นใหม่ก็จะเป็นโรคอีก โรคไฟทอบธอรา จึงไม่เคยหมดไปจากสวนทุเรียนเลย

  

 

                  ต้นทุเรียนที่เกษตรกรต้องโค่นทิ้ง เนื่องจากเป็นโรคไฟทอปธอรา นั้น เมื่อเข้าไปดูหน้าเนื้อไม้ที่โคนลำต้น ก็จะเห็นว่าเนื้อเยื่อชั้นในถัดจากเปลือกนอกของลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า ท่อน้ำของต้นพืช (xylem) ถูกทำลาย เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ นี่คือสาเหตุที่เราเรียกว่า อาการ “โรคโคนเน่า”

  

 

ชีวิตของเชื้อไฟทอปธอรา

          เชื้อไฟทอปธอรา เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ในดิน เชื้อไฟทอปธอรา อาจมีหลายชนิดที่เข้าทำลายทุเรียน แต่นักวิชาการรายงานว่า เชื้อไฟทอปธอรา ที่มีชื่อว่า Phytophthora palmivora (ไฟทอปธอรา ปาล์มมิโวลา) เป็นชนิดหลักในสวนทุเรียน จากงานวิจัยในรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อ ไฟทอป ธอรา ปาล์มมิโวลา นี้ เชื้อจะสามารถสร้างสปอร์พิเศษมีผนังหนา (chlamydospores)  ที่ทนสภาพแวดล้อมได้ดี มีชีวิตอยู่ในดินได้นานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไฟทอปธอรา เช่น อากาศแห้งแล้ง ดินขาดน้ำ เมื่อดินได้น้ำในหน้าฝน เชื้อก็จะเจริญเติบได้ต่อไป ดังนั้น เราอาจจะพบว่า ในช่วงหน้าแล้ง โรคจะไม่ระบาด ดูเหมือนว่า ไม่มีโรคไฟทอปธอราบนต้นทุเรียน แต่เมื่อเข้าหน้าฝน โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น จากงานวิจัยวิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า เชื้อไฟทอปธอรา ที่เก็บจากแหล่งต่างๆในเขตปลูกทุเรียนภาคตะวันออกและภาคใต้ มีลักษณะรูปร่างและพันธุกรรมที่แตกต่างกันในบางส่วน ชี้ให้เห็นว่าเชื้อไฟทอปธอรา อาจมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์อาจมีความรุนแรงของการเกิดโรคแตกต่างกันและสามารถต้านทานสารเคมีกำจัดโรคพืช หรือที่เราเรียกว่า “ดื้อยา”    

 

  

 

การแพร่กระจายของโรคไฟทอปธอราในทุเรียน

          เนื่องจากเชื้อไฟทอปธอรา เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในดิน การเข้าทำลายต้นทุเรียนในเบื้องต้น จึงเข้าทางรากของต้นทุเรียน เมื่อเชื้อเข้าสู่ต้นทุเรียนได้แล้ว ก็จะขยายพันธุ์เข้าสู่ระบบท่อน้ำในลำต้น ทำให้เชื้อไฟทอปธอรา แพร่กระจายไปทั้งต้น เริ่มจากราก ทำให้เกิดอาการ “รากเน่า” เมื่อเชื้อโรคขึ้นสู่ลำต้น ทำให้เกิดอาการ “ลำต้นเน่า” แล้วลุกลามไปสู่ยอด ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” และ “ใบร่วง” ดังนั้น โรคไฟทอปธอราในทุเรียน จึงเป็นโรคที่เป็นทั้งระบบต้น ดังได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนการแพร่กระจายของโรค จากต้นหนึ่ง ไปสู่ต้นอื่นๆ นั้น น้ำจะเป็นปัจจัยหลักในการแพร่กระจาย เพราะเชื้อไฟทอปธอรา เป็นจุลินทรีย์ ที่ชอบอยู่ในทีชื้นหรือมีน้ำในดิน เชื้อไฟทอปธอรา จะสร้างสปอร์พิเศษ (zoospores) ที่มีอวัยวะคล้ายแส้ ช่วยทำให้เคลื่อนย้ายในน้ำได้ 

 

 

การป้องกันกำจัดโรค ด้วยวิธีเกษตรกร

          ด้วยเหตุที่โรคไฟทอปธอราในทุเรียน เป็นโรคที่ป้องกันกำจัดยากที่สุด เมื่อเปรียบกับโรคอื่นๆ เกษตรกร จึงต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน คือ พ่นสารเคมีทางใบ ฉีดสารเคมีเข้าลำต้น และ ถากเปลือกลำต้นบริเวณแผลเน่า แล้วทาด้วยสารเคมี แม้กระนั้น ก็เป็นเพียงการรักษาโรคได้เพียงชั่วคราว หรือเป็นการยืดเวลาให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคทรุดโทรมช้าลง เท่านั้น 

 

 

การจัดการควบคุมโรค ด้วยการใชสารชีวภัณฑ์

          เนื่องจากเชื้อไฟทอปธอรา เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป จุดเริ่มต้นของการเกิดโรค คือ เชื้อไฟทอปธอรา เข้าทำลายทางรากของต้นทุเรียน แล้วแพร่กระจายเข้าทั้งต้น  การใช้สารชีวภัณฑ์ ในการป้องกันโรคไฟทอปธอราจึงเป็นการป้องการเกิดโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ชีวภัณฑ์ ไตร-แท๊บ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009) 
จุดเด่นคือ เป็นสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราไฟธอปธอรา ที่เป็นสาหตุของรากเน่าโคนเน่า และสามารถแก้ปัญหาเรื่องการ ดื้อยา กับเชื้อโรคกลุ่มไฟทอปธอรา โดยใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน

เมื่อเกิดอาการลำต้นเน่า ให้ถากเปลือกออก ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 1-2 ลิตร ทาที่แผล สามารถใช้ผสมร่วมกับสารเมตาแลกซิลได้ ทาซ้ำถ้ายังพบการฉ่ำน้ำบริเวณแผล

 

ชีวภัณฑ์  เจน-แบค (บาซิลลัสซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01)
เป็นชีวภัณฑ์สามารถป้องกันกำจัดโรคที่เกิด เชื้อราไฟธอปธอรา ที่เป็นสาหตุของรากเน่าโคนเน่า ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 5-7 วัน

 

แนวทางการป้องกันกำจัด

  1. ป้องกันอย่าให้น้ำขังหรือแฉะที่บริเวณโคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ง่าย
  2. ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำให้การระบายน้ำอากาศดี ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น
  3. ใช้ ไตร-แท๊บ รองก้นหลุมก่อนการปลูก อัตรา 10-20 กรัม/หลุม หรือผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รองก้นหลุม อัตรา 50-100 กรัม/ต้น
  4. ใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 3-5 วัน
  5. ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นทุก 5-7 วัน
  6. เมื่อเกิดอาการลำต้นเน่า ให้ถากเปลือกออก ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 1-2 ลิตร ทาที่แผล สามารถใช้ผสมร่วมกับสารเมตาแลกซิลได้ ทาซ้ำถ้ายังพบการฉ่ำน้ำบริเวณแผล

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE id: @tabinnovation
Website: www.tabinnovation.co.th
โทร. 02-954-3120
เพิ่มเพื่อน
 
 
 

อ้างอิง

โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร. สำหนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิพนธ์ วิสารทานนท์. โรคทุเรียน: เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร หมอพืช-ไม้ผล ฉบับที่ 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน คณะเกษตร ภาควิชาโรคพืช. 2542

สมศิริ แสงโชติ. โรคพืชที่สำคัญต่อการผลิต และการส่งออกทุเรียน. เทคโนเกษตร. เกษตรอภิรมย์. 2559

การจัดการโรคและแมลงศัตรูทุเรียน. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่

ศรุต สุทธิอารมณ์. 2557. แมลงศัตรูทุเรียน. น. 4-23. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

การจัดการผลิตทุเรียน (รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร).กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.

อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์. โรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่าของทุเรียน. กลุ่มวินิจโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร

 

16 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้ชม 19174 ครั้ง

Engine by shopup.com