เพลี้ยไฟ [Credit: Vanidakaset.com]
เพลี้ยไฟ [Credit: Vanidakaset.com]
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก มีวงจรชีวิตสั้น แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมีนิสัยชอบอยู่ในที่ซ่อนเร้น เช่น ภายในยอดอ่อน ช่อดอกและผลอ่อนของพืชหลายชนิดตัวเมียจะวางไข่ภายใต้ผิวเนื้อเยื่อของพืช ทำให้รอดพ้นจากฤทธิ์ของสารเคมี
ดังนั้น จึงสังเกต เพลี้ยไฟ ที่เข้าทำลายพืชในระยะเริ่มแรก ได้ยากด้วยตาเปล่าทำให้การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟให้ได้ผลดี จึงเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกร
พฤติกรรมของเพลี้ยไฟ
ภาพจาก Thriops & Control, British Columbia, 2006
ตัวเมียจะวางไข่ภายใต้ผิวเนื้อเยื่อของพืช
เพลี้ยไฟ มีหลายชนิดและเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชหลายชนิด
- พืชตระกูลผัก เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ กระเจี๊ยบ แตง
- พืชไม้ดอก เช่น กล้วยไม้
- พืชไม้ผล เช่น มะม่วง ส้ม มะนาว
การทำลายของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟทำลายต้นพริก เพลี้ยไฟทำลายต้นแตงเมล่อน
เพลี้ยไฟเข้าทำลายมะม่วง
ใบอ่อนถูกทำลาย เพลี้ยไฟบนใบอ่อน
การทำลายของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟทำลายดอกมะม่วง เพลี้ยไฟทำลายผลมะม่วง
การทำลายของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟทำลายยอดมะนาว เพลี้ยไฟทำลายผลมะนาว
วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ
ภาพจาก google
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
เนื่องจาก เพลี้ยไฟ มีวงจรชีวิตสั้น แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วการใช้สารป้องกันกำจัด จึงต้องเริ่มในระยะแรกที่ เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายพืช คือ ในระยะที่พืชเริ่มแตกใบอ่อน ยอดอ่อนไปจนถึงระยะดอกและผลอ่อน
จากงานวิจัย พบว่า เพลี้ยไฟ ยังเป็นพาหะนำโรคไวรัสดังนั้น การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ จึงควรเป็นลักษณะ การป้องกัน มากกว่า จะรอให้เห็นพืชเสียหาย และยังช่วยควบคุมการระบาดของโรคไวรัส ด้วย
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
ปัญหาในการใช้สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ คือเพลี้ยไฟมีการ ดื้อยา ต่อสารเคมีหลายชนิดดังนั้น การเลือกสารเคมี จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกร
การทดสอบเปรียบเทียบสารเคมี
แปลงเกษตรกรใช้สารเคมีอื่นๆ พริกอายุ 80 วัน แปลงใช้ สารฟิโพรนิล
แปลงใช้สารฟิโพรนิล พริกอายุ 115 วัน แปลงเกษตรกรใช้สารเคมีอื่นๆ
แปลงใช้ สารฟิโพรนิล แปลงเกษตรกรใช้สารเคมีอื่นๆ
การทดสอบเปรียบเทียบสารเคมี
แปลงเกษตรกรใช้สารเคมีอื่นๆ แปลงใช้ สารฟิโพรนิล
การทดสอบเปรียบเทียบสารเคมี
ไม่ฉีดพ่นสารเคมี ฉีดพ่น สารฟิโพรนิล
สารเคมีกลุ่มที่ 2B
สารกำจัดแมลง
ฟิโพรนิล (เกรท 5 เอสซี)
เป็นสารประเภท ดูดซึม
อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
หลักการควบคุม เพลี้ยไฟ
ด้วยเหตุที่ เพลี้ยไฟ เริ่มเข้าทำลายพืชในระยะเริ่มแตกช่ออ่อน -ใบอ่อนการจะใช้สารเคมีสำหรับกำจัดเพลี้ยไฟ จึงควรเป็น “การป้องกัน” มากกว่า “การรักษา”
หลักการสำคัญ คือ
- เลือกสารเคมีที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดเพลี้ยไฟ
- ใช้เต็มอัตรา ที่ได้รับรองผลจากการทดสอบแล้ว
- ฉีดพ่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเข้าทำลายของศัตรูพืช
- อาจมีการสลับสารเคมีต่างกลุ่ม เพื่อบริหารจัดการ “การดื้อยา”
- ฉีดพ่นสารแต่ละชนิดให้ต่อเนื่อง จนเห็นผลชัดเจน ก่อนจะสลับสารฯ
สารเคมีกลุ่มที่ 4
สารกำจัดแมลง
อิมิดาคลอพริด 70% WG
เป็นสารประเภทดูดซึม
อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
การสลับสารเคมีต่างกลุ่ม เพื่อต่อต้านการดื้อยา
ระยะใบอ่อน-ระยะดอก ระยะผลอ่อน
สารเคมีกลุ่มที่ 2 สารเคมีกลุ่มที่ 4
18 กันยายน 2561
ผู้ชม 19558 ครั้ง