โรคแอนแทรคโนสในพริก [Credit: Vanidakaset.com]

หมวดหมู่: บทความ

โรคแอนแทรคโนสในพริก

          พริก เป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคพืชหลายชนิด โดยโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดในการผลิตพริกของเกษตรกร คือโรคแอนแทรคโนส สาเหตุเกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่ง (Colletotrichum spp.) ซึ่งสามารถเข้าลายต้นพริกได้ทุกระยะ ต้น ใบ ดอก และผลพริก โดยเฉพาะอาการเป็นโรคที่ผล จะทำให้สูญเสียผลผลิตมาก เกษตรกรผู้ปลูกพริกจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับอาการบนผลพริกที่เรียกว่า “โรคกุ้งแห้ง” เพราะทำให้เกษตรกรต้องเสียรายได้จากการขายผลผลิตในทุกที่และทุกฤดูการผลิตจากโรคกุ้งแห้ง และยังเป็นปัญหาที่เกษตรกร ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ดังนั้น ในเนื้อหาของบทรายงานวิชาการนี้ จึงขอเสนอข้อมูลวิชาการด้านโรคแอนแทรคโนสในพริกเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร

 

อาการของโรค

          เชื้อราสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส สามารถเข้าทำลายต้นพริกได้ทุกส่วนและทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นพริก ดังนั้น โรคจึงเกิดอาการได้ ทั้งในระยะต้นกล้า อาการบนลำต้น ใบ และผลพริก โดยเฉพาะบนผลพริกจะมีอาการเด่นชัดที่สุดและทำความเสียหายต่อผลผลิตมากที่สุด เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว

 

          อาการทั่วไปของโรคแอนแทรคโนสบนผลพริก คือ อาการเริ่มต้น แผลจะเป็นจุดเล็กๆฉ่ำน้ำ บริเวณภายในแผลมีสีเหลืองอ่อน เนื้อเยื่อผิวของผลจะยุบบุ๋มลง จากนั้น เมื่อมีความชื้นสูงแผลจะขยายใหญ่ขึ้น เป็นวงรีหรือวงกลมซ้อนๆกันเป็นชั้นๆ ตรงกลางแผลจะเห็นเม็ดสปอร์สีดำซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา แผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมักมีหลายแผลบนผลที่เชื้อเข้าทำลาย เมื่อเชื้อราเจริญเต็มที่

 

สาเหตุของการเกิดโรค

          โรคแอนแทรคโนสพริก มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่งในสกุล คอลเลทโตตริคัม (Colletotrichum spp.) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชจากศูนย์วิจัยผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รายงานว่ามี 3 ชนิดในประเทศไทย [C. truncatum (former capsici), C. scovillei (former acutatum), C.siamense (former gloeosporioides)] ความซับซ้อนทางชนิดของเชื้อราสาตุนี้ ก่อให้เกิดผลที่ยุ่งยากต่อการพัฒนาพันธุ์พริกที่ต้านทานโรคและเชื้อต่างชนิดกันก็จะมีความรุนแรงในการเกิดโรคที่ต่างกัน และส่งผลในทางปฏิกิริยาต่อสารเคมีกำจัดโรคพืช(chemical fungicides) ต่างกัน หรือปรากฏการณ์ที่เรามักเรียกว่า “การดื้อยา” เกิดขึ้น

 

การเกิดโรคและการแพร่กระจายของโรคบนผลพริก

          การเกิดโรคบนผลพริก อาจจัดว่าเป็นทั้ง โรคก่อนเก็บเกี่ยว คือ แสดงอาการบนผล ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวและเป็นโรคหลังเก็บเกี่ยว เพราะไม่มีอาการบนผลพริกสีเขียวที่ยังไม่สุก แต่จะแสดงอาการหลังเก็บเกี่ยว เมื่อผลพริกสุก เรียกว่าเป็นอาการแฝง (latent infection) เชื้อรากลุ่มนี้ สามารถติดไปเมล็ดพันธุ์ อาศัยอยู่ในดิน เศษซากพืชที่เป็นโรคที่ปล่อยทิ้งไว้ในแปลงปลูก หรือพืชอาศัยชนิดอื่นๆ สภาวะแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เชื้อโรคแพร่กระจาย คือ อุณหภูมิและความชื้น เชื้อรากลุ่มนี้ เจริญเติบโตได้ดี ที่อุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส ความชื้น 80% ดังนั้น โรคแอนแทรคโนส จะแพร่กระจายมากและระบากรุนแรงในช่วงฤดูฝน การกระเซ็นของน้ำฝน จะช่วยทำให้สปอร์กระจายตัวไปทั่วแปลงปลูกพืช

 

การ “ดื้อยา” ของของเชื้อโรค  

          เชื้อราของโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum spp) มีรายงานการ “ดื้อยา”  ต่อสารเคมีบางกลุ่ม ทำให้การป้องกันกำจัดโรคด้วยสารเคมี ในบางกรณีไม่ได้ผล เกษตรกร ต้องระมัดระวังในการเลือกชนิดของสารเคมี เพือใช้ในการกำจัดโรคแอนแทรคโนส

 

 

การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส

          จากข้อมูล ดังกล่าวข้างต้น เชื้อสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส สามารถเข้าทำลายต้นพริกได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นพริก เริ่มตั้งแต่ ระยะกล้า ระยะหลังย้ายกล้าปลูก ไปจนถึงระยะติดผลพริก และพริกเป็นพืชที่ออกดอกติดผลได้หลายรุ่นในหนึ่งรอบการปลูก ดังนั้น การแบ่งระยะการเจริญเติบโตของต้นพริกออกเป็นส่วนๆ เพื่อการจัดแบ่งการใช้สารป้องกันกำจัดโรค ซึ่งไม่เพียงแต่ คัดเลือกสารเคมีที่ไม่มีความเสี่ยงต่อเรื่อง “การดื้อยา” แล้ง ยังต้องคำนึงถึงเรื่อง สารเคมีตกค้าง บนผลพริก ซึ่งจะมีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญในขบวนการผลิต

 

 

 

          จากการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช (chemical fungicides)ของฝ่ายวิชาการ วนิดาเกษตร ที่ผ่านมา พบว่า สารโพรคลอราซ (prochloraz) มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส ได้ดีที่สุด และสารโพรคลอราซ ยังมีความเสี่ยงเรื่อง การดื้อยา ต่ำ

 

 

ข้อคิดเห็นท้ายเรื่อง

          เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส เข้าทำลายต้นพริกได้ ตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลพริก แม้ว่าการเข้าทำลายบนใบและลำต้นพริก อาจจะพบไม่มากนัก แต่ต้นพริกที่เป็นโรคบนใบและลำต้น จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ (source of inoculum) ที่โรคจะลุกลามต่อไปที่ผล ทำให้เกิดโรคที่เราเรียกว่า “โรคกุ้งแห้ง” ดังนั้น หลักการควบคุมโรคกุ้งแห้ง ที่ดี นั้น ควรจะเป็นลักษณะ การป้องกัน ตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บผลพริก แต่เมื่อเราต้องคำนึงถึงเรือง สารเคมีตกค้าง บนผลผลิต จึงขอแนะนำ โปรแกรมการใช้สารป้องกันกำจัดโรค แบบผสมผสาน ตามหลักการ จีเอพี (GAP) คือ ใช้สารเคมี ผสมผสาน กับสารชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืช (biofungicide) คือ บาซิลลัส ซับทิลิส (เจน-แบค) ซึ่งไม่มีประเด็นเรืองสารตกค้างและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนี้

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
LINE id: @tabinnovation
Website: www.tabinnovation.co.th
โทร. 02-954-3120
เพิ่มเพื่อน
  

เอกสารที่ใช้อ้างอิงข้อมูล

  • Chili Anthracnose: Genetics, Pathogenicity and Mapping Orarat Mongkolporn & ChiliMarka, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, 2017 (presentation)
  • Mechanism and inheritance of anthracnose resistance in chilli, Suchila Tachawongstien et. al., Kasetsart University, Bangkok, Thaialnd, 2017 (presentation)
  • Chilli Anthracnose:The Epidemiology and Management Anthracnose, Amrita Saxena, et al, Frontiers in Microbiology, 2016
  • Chilli anthracnose (Colletotrichum spp.) disease and its management approach, May Moe Oo and Sang-Keun Oh, Korean Journal of Agricultural Science 43(2), 2016
  • การประเมินโรคแอนแทรคโนสของพริกโดยการใช้โครงข่ายประสาทเทียม วาสนา วิรุญรัตน์ และคณะ ว. วิทย์. กษ. 47(2)(พิเศษ): 285-288 (2559)

***************************

28 มีนาคม 2567

ผู้ชม 54350 ครั้ง

Engine by shopup.com