เชื้่อราเมธาไรเซียม

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

เชื้อราเมธาไรเซียม

(Metarhizium anisopliae)

          เชื้อราเมธาไรเซียม  หรือเชื้อราเขียว เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กพบในดินทั่วไป เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช เจริญเติบได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส และสร้างสปอร์ได้ใน 5-7 วัน เส้นใยเริ่มต้นมีสีขาว สร้างสปอร์รูปร่างรี สีเขียวขี้ม้า เชื้อราเมธาไรเซียมสามารถทําลายแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ทําลายได้ทั้งตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เช่น ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงหมัดผัก หนอนศัตรูพืช หนอนเจาะลําต้น หนอกกอ ปลวก หนอนทราย บั่ว ไร และเพลี้ยต่างๆ เช่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เป็นต้น

 

         

 เชื้อรา Metarhizium anisopliae                             เชื้อรา Metarhizium anisopliae เจริญเติบโตบนข้าวสุก

 

การควบคุมและทำลาย

          เชื้อราเมธาไรเซียม สามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดย เมื่อสปอร์เชื้อราเมธาไรเซียม ตกบนตัวแมลง เข้าสู่แมลงทางผิวหนัง หรือช่องว่างของลำตัวรวมทั้งจะสร้างเอนไซม์ไคติเนส (Chitinase) เพื่อช่วยย่อยผนังบางส่วนและงอกสปอร์แทงผ่านลำตัวเข้าไปเจริญ เพิ่มปริมาณทำให้แมลงเกิดโรค และตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราเมธาไรเซียม จะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวภายนอกเป็นสีเขียว ซึ่งระยะเวลาในการเข้าทำลายจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่อุณหภูมิและ ความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส และความชื้นมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแสงแดด จะมีรังสียูวีที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อ จะรุนแรงมากหรือน้อย ยังขึ้นกับลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ  ความแข็งแรง หรือภูมิต้านทานของแมลงอีกด้วย

 

 

     

 เชื้อราเมธาไรเซียมเจริญบนตัวมอดข้าว                       เชื้อราเมธาไรเซียมเจริญบนตัวหนอน waxworm

                

 

วิธีการใช้เชื้อราเมธาไรเซียมกําจัดด้วงแรดมะพร้าว

  1. 1. ทํากองปุ๋ยหมักล่อให้ด้วงแรดมะพร้าว วางไข่ ขนาด 2x2 เมตร
  2. 2. นําเชื้อราเมธาไรเซียม คลุกผสมใน กองล่อ 1กิโลกรัม/กอง รดน้ำให้ชุ่ม ปิดด้วยทางมะพร้าว
  3. กองล่อ 1 กอง สามารถควบคุมด้วงแรดได้ 5 ไร่

 

ที่มา : http://at.doa.go.th/coconut/metarhizium.html

          กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

 

 

ที่มา : http://at.doa.go.th/coconut/metarhizium.html

          กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

 

วิธีการใช้เชื้อราเมธาไรเซียมกำจัดด้วงหนวดยาวอ้อย

  1. โรยเชื้อราลงในร่องปลูกโดยการวางท่อนพันธุ์แล้วใช้เชื้อราเมธาไรเซียมโรยบนท่อนพันธุ์ ในอัตรา 10 ก.ก./ไร่ แล้วรีบกลบฝังทันทีเพื่อไม่ให้แสงแดดเผาทำลายเชื้อรา
  2. หรือเพิ่มปริมาณเชื้อราโดยการผสมกับรำละเอียดหรือปุ๋ยหมัก โรยลงในร่องปลูกแล้วพรวนกลบทันที
  3. สามารถปล่อยเชื้อราไปพร้อมกับการให้ในระบบน้ำ (เชื้อ 1 กก./น้ำ 50 ลิตร)

      4.ใช้เชื้อสด อัตรา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร กรองเอาเฉพาะน้ำสปอร์ หรือใช้ผงเชื้อในรูปชีวภัณฑ์ตามอัตราแนะนำ  ใช้น้ำราดหรือใส่เครื่องพ่นยาฉีดบนท่อนพันธุ์พร้อมปลูก แล้วรีบกลบตามทันทีเช่นเดียวกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่สะดวกในการใช้น้ำ

      5.ควรผสมสารจับใบหรือน้ำยาล้างจานเล็กน้อย เพื่อลดแรงตรึงผิวของเชื้อรา ให้เข้ากับน้ำได้ดี

 

 

ที่มา : http://www.pmc04.doae.go.th/NE0949/pathogen_MetAni.htm

          ศูนย์บริการศัตรูพืช จังหวัดขอนแก่น

 

วิธีการใช้เชื้อราเมธาไรเซียมกำจัดแมลงศัตรูพืชทั่วไป

          ใช้เชื้อราเมธาไรเซียมชนิดสด 1 ก.ก. ผสมน้ำ 20 ลิตร กรองเอาเฉพาะน้ำ หรือใช้ผงเชื้อในรูปชีวภัณฑ์ตามอัตราแนะนำ ปรับสภาพแปลงให้มีความชื้นที่เพียงพอ ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ลงดินหรือวัสดุปลูกโดยเปิดรูหัวฉีดให้พ่นฝอย และต้องพ่นให้เปียกโชก (ควรผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ด้วยเพื่อให้สปอร์เกาะพืชและตัวแมลงได้ดี)

การพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม เพียงครั้งเดียวอาจไม่ได้ผล ต้องพ่นซ้ำ 2-3 ครั้งขึ้นไป และควรพ่นในช่วงที่แมลงยังตัวเล็กๆ หรืออยู่ในช่วงพักตัวอยู่ใต้ดินหรือวัสดุปลูก การพ่นต้องให้ถูกตัวแมลง เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ของเชื้อราจะไม่เหมือนสารเคมีที่สามารถดูดซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อได้ เมื่อแมลงมาดูดกินก็จะได้รับสารเคมีทำให้แมลงตาย แต่ในกรณีการพ่นเชื้อราก่อโรคในแมลงจะต้องให้สปอร์ไปตกหรือถูกตัวแมลงเท่านั้นจึงจะทำลายแมลงได้ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงช่วงเวลา แสง อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมเป็นสำคัญ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นเชื้อราเมธาไรเซียมควรเป็นเวลาใกล้ค่ำ เนื่องจากเป็นช่วงที่แมลงเริ่มออกหากินและตัวเชื้อราจะมีชีวิตรอดได้นานขึ้น

13 พฤศจิกายน 2561

ผู้ชม 23754 ครั้ง

Engine by shopup.com